วันจันทร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2551

สำหรับยุค omics .....ห้ามพลาด

blog นี้ มาจาก U. Michigan รวบรวมและแนะนำแหล่งความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของ Omics และ nanotechnology ไว้สะใจ yoda ทีเดียว อืมมมม....ชอบมากขอบอก

ทำไมเหรอ....อ๋อ.....ก็มีหมวดหมู่สำหรับ Dentistry กับพวก omics พวกนี้โดยเฉพาะน่ะซี เขาบอกไว้ด้วยนะว่ามีหลายซีรีย์ที่วางแผนไว้.......นี่ไง

These topics (and possibly others) are planned for this blog series.
1. Omics Basics

2. General Resources about Genomics, Proteomics and Nanotechnology
3. Omics Training Resources and Centers
4. Omics Research Centers
5. United States Government Omics Resources
6. Omics E-Books
7. New Genetic and Genomic Information from NLM and the Genetics Home Reference (GHR)
8. Genomics and the World Health Organization
9. Omics in Michigan
10. Dentistry and Genomics pt. 1
11. Dentistry and Genomics pt. 2
12. Birth Defects and Genomics
13. Dentistry and Proteomics
14. Nanodentistry
15. Resources for Omics Researchers
16. Finding Omics Funding Sources
17. Staying Current: Omics News Sources
18. Staying Current: Omics Blogs

ตอนนี้คนเขียนก็เขียนมากกว่าที่บอกไปแล้ว....สะใจมากกกกกกก......

แหล่ง Vedio สำหรับแนะนำคนไข้ทันตกรรม

ก็เป็นแบบ 1 นาทีเพื่อสุขภาพ...ทำนองนั้น ของ ADA ที่เรารู้จักกันดี
ซีรีย์ นี้เกี่ยวกับ cosmetic dentistry น่าจะกำลังอินเทรนด์...นิ
มีหลาย topic แต่เป็นภาษาอังกฤษหมดนะ ฟังไม่ยาก เลยทำให้นึกได้ว่าน่าจะมีประโยชน์สำหรับทันตแพทย์ที่ต้องเจอคนไข้ต่างชาติบ่อยๆ เหมือนเรียนภาษาอังกฤษที่ใช้ในงานทันตกรรมเลย !!!

วันเสาร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2551

ลองใช้ดู.....

อันนี้เป็น โปรแกรมช่วยในเรื่อง การวินิจฉัยแยกโรค ของ UCLA School of Dentistry ชื่อ ORAD II- Oral Radiographic Differential Diagnosis.....

คลิกที่ Begin ORAD ต่อเลย

แม้โดยส่วนตัวก็ยังไม่รู้สึกว่า work เท่าไร แต่อยากให้ลองใช้ดู เพราะ อยากให้ดูว่าข้อมูลที่เราควรได้มาก่อนแปลผลฟิลม์ควรจะมีอะไรบ้าง.....ก็ตามที่เค้าให้เลือกกรอกข้อมูลจาก drop down menu ไง

เรื่องของ Health Technology Assessment (HTA)

Web site หน้านี้ไม่ใช่ห้องสมุดโดยตรง เป็น self study course ของ National Information Center on Health Services Research and Health Care Technology (NICHSR) ซึ่งเป็นหน่วยงานย่อยใน National Library of Medicine (NLM) พวกเราคงรู้จักกันดี....

น่าสนใจเพราะ เขาสอนให้รู้ว่าอะไรตือ HTA ได้แบบละเอียด แต่กระชับ เหมาะสำหรับมือใหม่ที่ยังไม่รู้เรื่องนี้เลย แถมยังรวมแหล่ง resource เรื่องพวกนี้ไว้ให้เรารื้อค้นต่อได้.....

คงเห็นนะว่ามันคือ Evidence-Based ในระดับมหภาคที่เน้นแง่มุมเศรษฐกิจนั่นเอง .....มี Big big บางคนบอกว่าไม่เกี่ยวกัน อย่าไปเชื่อเขา!!!!

อ้อแล้วก็อย่าเอา HTA ไปใช้ผิดๆ (เหมือนที่พยายามทำกับCPG) ทั้งสองเรื่องแบบนี้เขาพูดกันระดับ mass ไม่ใช่ individual บอกแล้วบอกอีกว่า เป็นแค่องค์ประกอบหนึ่งใน Clinical Dicision Making ไม่ใช่เอาไปเป็น Decision ทุกกรณี ทุก case ซะเมื่อไหร่.....

วันพุธที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551

หนึ่งในแหล่ง open source แหล่งแรกๆ....

ชื่อว่า Public Library of Science (PLoS) เป็นแหล่ง open source ที่เหมาะสำหรับนักวิทยาศาสตร์หลายสาขา รวม medicine ด้วย.....k_yoda ชอบมากและเป็นสมาชิกกับเขาตั้งแต่เริ่มแรกหลายปีก่อน สำหรับคนที่ยังไม่สนใจวิทยาศาสตร์สาขาอื่นๆ ก็ดิ่งไปที่ Plos medicine ได้.....อันที่พวกเราน่าจะใช้ประโยชน์ได้คือ collections ของ paperในนั้น..........

วันอาทิตย์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2551

หนึ่งในแหล่ง evidence-based ที่ต้องรู้จัก

คือ AHRQ (Agency for Research and Quality) แหล่งนี้เหล่า jedi ต้องขยันเข้ามาชมว่ามีเรื่องอะไรใหม่ๆบ้างตามแนวทาง evidence-based..............................
เหมาะสำหรับสะสม CPG ( Clinical Practice Guideline) ของจริง !

วันอังคารที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2551

The Internet Public Library

อันนี้เป็นแหล่งเชื่อมโยง site อื่นๆ ก็คงต้องมานั่งค้นดูยามว่างใหม่ แต่เท่าที่เหลือบดูก็มีของ Oral health and Dentistry อยู่นะ ลองเข้าไปดูเล่นก่อนก็แล้วกัน'......Internet Public Library.....

Simulation.....นับเป็นแหล่งน่าสนใจก็แล้วกัน

เป็นตัวอย่างของพวกวิสัญญีเค้า พวกคลั่ง OMS อย่างเราก็ชอบ แต่คนอื่นๆอาจจะไม่สนนะ.........Any way ........ชื่อ Center for Simulation, Advanced Learning and Technology ของ University of Florida

วันจันทร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2551

แหล่ง Free full text ที่ห้ามพลาด

เค้าเคลมว่าเป็น Earth's Largest Free Full-Text Science Archives เลยนะ ต้องวงเล็บว่า ทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ คือ Hire Wire Press ของ Standford University

ดูๆก็มีของทันตกรรมพอสมควร แต่ที่ชอบคือมีอื่นๆที่เราใช้ประโยชน์ได้อีกแยะ สำหรับคนหา article ทางการแพทย์มาประกอบชั่วโมง Basic Med. for Dent.

ตัวอย่าง Dental Repository

อันนี้เป็น Dental Repository ของ Tokyo Dental College......

เป็นหนึ่งใน Open access repositories ที่มีอีกมากมาย ไอเดียคือเป็นแหล่งเก็บรวบรวมองค์ความรู้ที่เป็นนวัตกรรมหรือผลิตผลขององค์กร เพราะ...........ความรู้คือพลังองค์กร......ที่จะทำให้องค์กรคงอยู่ได้ หรือล่มสลายไป ในยุคของ Knowledge Society ไง !!!!!

ชมรมเราก็มี Respository ของเรากันเอง ในอนาคตอันใกล้นี้ ทุกคนก็จะสามารถเข้าใช้ประโยชน์จากมันได้ ตอนนี้ก็กำลังรวบรวม.....เพราะฉะนั้นเราก็ยังไม่ Open access นิ เอาแบบ close access เฉพาะพวกเราใช้ก่อน

Open access ของทันตกรรม

มีคนท้วงว่า มีแต่ของแพทย์ไม่มีของทันตกรรมตรงๆเลย เลยหามาให้ site นึง ชื่อ Directory of Open Access Journal (DOAJ)........

มีให้คุ้ยไม่มากแต่ก็พอรับได้เพราะเป็น Open access !!!!!!

อันนี้ก็ OK นะ.......

Site นี้เป็นแหล่งรวม Link ของห้องสมุดทางการแพทย์ ในประเทศเครือจักรภพ ชื่อ site ว่า HLISD - Directory of Health Library and Information Services in the United Kingdom and the Republic of Ireland

เป็นหนึ่งใน special interest group ที่ใหญ่ที่สุดของ The Chartered Institue of Library and Information Professionals ในกรุงลอนดอน ของอังกฤษ..................

แต่...........มันมี link มากจริงๆนะ.........
ถ้าว่างจะไปควานหาไอ้ที่เกี่ยวกับทันตกรรมเจาะไปเลยอีกทีนึง

วันเสาร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2551

ห้องสมุด Brown University Library

Brown University Library เป็นห้องสมุดเก่าแก่ มีมาตั้งแต่ ค.ศ. 1767 แต่ เนื้อหาใน web site ทันสมัยมากนะ......
พอเข้าหน้าแรกแล้วคลิกไปที่ Medical school ....ต่อไปที่ หัวข้อใต้ e-journal เลือกหัวข้อ clinical and historic image มี Clinical Medicine Vedios from NEJM สำหรับพวกเราน่าจะมีประโยชน์